ประเพณีกิ๋นสลากหลวงจังหวัดแพร่

ประเพณีทำบุญกิ๋นสลาก เป็นประเพณีที่ชาวภาคเหนือ ได้รับการสืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมาแต่ครั้งโบราณกาล ตรงกับการทำบุญสลากภัตของชาวไทยภาคกลาง และประเพณี "ทิ้งกระจาด" ของชาวจีน ประเพณีดังกล่าวได้รับการเรียกขานแตก ต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น "ตานก๋วยสลาก" "กิ๋นข้าวสลาก" หรือ "ตานสลาก" สำหรับจังหวัดแพร่ เรียกว่า "กิ๋นสลาก" ระยะเวลา การจัดงาน โดยปกติตามประเพณีนิยมมักจัดขึ้นระหว่างวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เหนือ เดือน 10 ใต้ (ภาคเหนือนับเวลาเร็วกว่าภาค กลางไป 2 เดือน) ถึงวันแรม 15 ค่ำ เดือนเกี๋ยงเหนือ เดือน 12 ใต้ (เดือนเกี๋ยง คือ เดือนอ้ายหรือเดือนที่ 1) คือภายในเวลา 45 วัน สถานที่จัด วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร เลขที่ 16 ถนน เจริญเมือง ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่

 

ประเพณีดำหัวหงส์ เป็นประเพณีที่ชาวบ้านวังหงส์ ตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ได้ปฏิบัติสืบทอดกัน มาตั้งแต่สมัยโบราณ ในวันที่ 16 เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันปาก ปี ชาวบ้านจะนำน้ำส้มป่อย และข้าวตอกดอกไม้ไปสักการะรูปปั้น หงส์สองตัว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของชื่อบ้านนามเมือง เพราะมีความ เชื่อว่าจะทำให้ชุมชน และผู้คน เกิดความร่มเย็นเป็นสุขตลอดปี โดยเป็นลักษณะต่างคนต่างไปหรือรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มเล็กๆ เท่านั้นสถานที่จัด อนุสรณ์สถานหงส์ หมู่ 7 ตำบลวังหงส์ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพไม่มีคำอธิบายรูปภาพไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

 

ความเชื่อในพิธีสะเดาะเคราะห์ การปูจาต้าวตั้งสี่ ส่งปู่แถนย่าแถน

          พิธีสะเดาะเคราะห์ การปูจาต้าวตั้งสี่ ส่งปู่แถนย่าแถนเป็นพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา บุคคลผู้ที่ประกอบพิธีกรรมนี้ได้จะต้องผ่านการบวชเรียนมาก่อน จะท่องตำราอยู่เป็นเนืองนิตย์ มีครูบาอาจารย์เป็นที่เคารพกราบไว้ ผู้ประกอบพิธีสะเดาะเคราะห์ การปูจาต้าวตั้งสี่ ส่งปู่แถนย่าแถน เฮียกขวัญ ส่งผีตายโหง คือ พ่ออาจารย์สุภาพ เกตุวีระพันธ์ อยู่บ้านเลขที่ 108 หมู่ที่ 8 ต.หัวฝาย อ.สูงเม่น จ.แพร่ การสะเดาะเคราะห์ การปูจาต้าวตั้งสี่ ส่งปู่แถนย่าแถน เฮียกขวัญ การส่งผีตายโหง เหล่านี้จะเป็นความเชื่อของคนในชุมชนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจะกระทำเมื่อมีเคราะห์ เช่น ประสบอุบัติเหตุก็จะสะเดาะเคราะห์ การจะก่อสร้างบ้านหรือทำบุญบ้าน ขึ้นบ้านใหม่ ก็จะปูจาต้าวตั้งสี่ก่อน การเจ็บป่วย / สะดุ้งตกใจ ก็จะส่งปู่แถนย่าแถนและเฮียกขวัญ การเชิญให้พ่ออาจารย์ไปประกอบพิธีก็จะมีกรวยดอกไม้ธูปเทียนมาบอกกล่าว พ่ออาจารย์ก็จะเอากรวยดอกไม้ธูปเทียนนั้นไปบอกกล่าวครูบาอาจารย์ก่อนที่จะไปประกอบพิธีที่บ้านของผู้ที่มาบอกกล่าวนั้น

  

ผู้คนชาวล้านนามีความเชื่อว่า ในแต่ละบ้านเรือนจะมีต๊าวตังสี่ (ท้าวทั้งสี่)เป็นเทพารักษ์เฝ้าดูแลรักษาชีวิต ป้องกันเภทภัยต่างๆมิให้กล้ำกรายผู้คนที่อยู่อาศัยในบ้านนั้นๆ ต๊าวตังสี่มีอยู่สี่องค์ได้แก่
1. ท้าวมหาราชธตรฐผู้เป็นใหญ่แห่งคนธรรพ์รักษา ทิศตะวันออก
2. ท้าววิรุฬหกผู้เป็นใหญ่แห่งกุมภัณฑ์รักษาทิศใต้
3. ท้าววิรูปักษ์ผู้เป็นใหญ่แห่งนาครักษาทิศตะวันตก
4. ท้าวเวสสุวรรณหรือท้าวกุเวรผู้เป็นใหญ่แห่งยักษ์รักษาทิศเหนือ
นอกจากต๊าวตังสี่รักษาทิศ ทั้งสี่แล้ว ข้างบนบ้านเรีอนที่เป็นส่วนของฟ้ามีพระอินทร์รักษา และด้านที่เป็นพื้นดินสุดมีพระแม่ธรณีรักษาดังนั้นเมื่อทำการบูชาผู้คนจะจัด ทำเครื่องสักการะเป็น หก ส่วนคือบูชาท้าวทั้งสี่และพระอินทร์ พระแม่ธรณี -เครื่องสักการะที่สำคัญในการบวงสรวงบูชามีข้าวปลาอาหารตามปกติทั่วไปที่เจ้าของบ้านรับประทาน
ที่สำคัญมีตุงจ้อ (ตุงช่อ) คือสัญลักษณ์ในการบูชาทำด้วยกระดาษตัดเป็นรูปคล้าย ธงสามเหลี่ยมสีเขียวไว้ด้านบนสุดของแท่นไม้เพื่อบูชาพระอินทร์ ตุงจ้อสีแดงบูชาท้าววิรุฬหก ตุงจ้อสีฟ้าบูชาท้าวธตรฐ ตุงจ้อสีดำบูชาท้าววรูปักษ์ ตุงจ้อสีหม่นหรือเทาบูชาท้าวกุเวร และตุงจ้อสีขาวบูชาพระแม่ธรณี
การบูชาต๊าวตังสี่จะใช้ไม้เสาต้นเดียวแต่มีไม้ตีไขว้เป็นกากบาทสูงกว่าพื้นดินราวศอกกว่าๆ หันปลายไม้กากบาทไปยังทิศทั้งสี่ แล้ววางสะตวง (กระทงกาบกล้วย) ไว้ทั้งสี่ทิศ ส่วนด้านบนสุดของเสาวางสะตวงบูชาพระอินทร์และส่วนล่างสุดวางไว้บนดินชิดโคน เสาเพื่อบูชาพระแม่ธรณี -ครั้นถึงเวลาที่จะบูชาพ่อหมอหรือปู่อาจารย์จะทำพิธีกรรม
เริ่มจากปู่อาจารย์หรือผู้ประกอบพิธี จะนำกระทงเครื่องปูจา ๖ กระทงวางบนแท่นปูจา (หอประสาทเสาเดียว) เพื่อปูจา พญาอินต๋า ท้าวตะละโถ ท้าววิโลหะโก๋ ท้าววิธูปักโข ท้าวกุเวโร และแม่พระธรณี แล้วจุดธูป ๒๐ ดอก ปักที่ตีนเสา ในขณะนั้นเจ้าของบ้านควรนั่งพนมมือแล้วปู่อาจารย์จะทำพิธีตามลำดับดังนี้
- ปู่อาจารย์จะทำพิธีปลุกแม่ธรณีว่า แม่ธรณีเอ๋ย เจ้าอยู่ รู้หรือยัง แล้วตอบเองว่า อยู่ รู้แล้ว
สาวะคะตั๋ง โลก๋าวิทู นะมามิ ๓ ครั้ง เสกมือแล้วตบที่เสา ๓ ครั้ง
- กล่าวคาถาชุมนุมเทวดา
- กล่าวคำปูจาแม่ธรณีและท้าวตั้งสี่ (จตุโลกบาล)
- กล่าวคำปูจาพญาอินทร์
เครื่องสังเวย
เครื่องสังเวยก็มีดอกไม้ ธูปเทียน หมากเมี่ยง ปูรี (บุหรี่) ขนม ข้าวต้ม จ้อ (ช่อ - ทำเป็นธงสามเหลี่ยมด้วยกระดาษต่าง ๆ) ใส่ ?สะตวง? วางไว้ที่ปลายไม้ที่ชี้ไปทั้งสี่ทิศและตรงกลางเสาซึ่งจะสูงกว่าฐานไม้ที่รอง ?สะตวง? ประมาณสองคืบเศษเป็น ?สะตวง? ใหญ่สำหรับพระอินทร์ ซึ่งถือว่าเป็นองค์ประมุขของเทวดาทั้งหลายที่อยู่เบื้องล่างส่วนฐานล่างสุดติดดินก็จะวางกระทงสะตวง ให้พระแม่ธรณีสะตวงหนึ่ง รวมทั้งหมดมี ๖ สะ

 
 
 
ประเพณีตากธัมม์ ตานข้าวใหม่หิงไฟพระเจ้า เป็นประเพณีที่ชาวตำบลสูงเม่น ถือปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนาน เพื่อย้อนรำลึกถึงคุณงามความดีของอดีตเจ้าอาวาสวัดสูงเม่น (ครูบากัณจนะ อรัญญวาสีมหาเถร หรือ ครูบามหาเถร) และเพื่อฟื้นฟูประเพณีอันดีงาม พร้อมสืบสานวัฒนธรรมทางศาสนา เปิดโอกาสให้คณะศรัทธา พุทธศาสนิกชนทั่วไปได้มีส่วนร่วมในการทำบุญประเพณีตากธรรม ทั้งนี้ ครูบากัณจนะอรัญญวาสีมหาเถร หรือ ครูบามหาเถร นับเป็นปฐมครูบาเจ้าแห่งภาคเหนือ สันนิษฐานว่าท่านเกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 พ.ศ.2332 มีอายุยาวนานถึง 4 รัชกาล (มรณะในปี 2421 รัชกาลที่ 4) พื้นเพดั้งเดิมเป็นคนแพร่หรือจังหวัดแพร่ หลังจากอุปสมบทท่านได้ศึกษาพระไตรปิฎกมูลกัจจายนะ ปรมัตถุ์ สัททาทั้ง 80 มัด สมัญญาภิธาน เป็นต้น จนแตกฉานในธรรมทั้งหมด และเป็นผู้สร้างคุณงามความดีไว้จำนวนมาก อาทิ จัดสร้างและรวบรวมเขียนธรรมใบลาน เป็นภาษาบาลี บรรจุไว้ในพระไตรปิฎกวัดสูงเม่น มี 2,567 มัด นับเป็นผูกได้ 8,845 ผูก และยังได้นำไปบรรจุไว้ที่หลวงพระบางอีกจำนวนมาก
นโยบายการใช้ Cookies

เราอาจจะเราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการและปรับปรุงบริการ โปรดคลิก "ยอมรับ" (ปุ่มสีเขียว) ในการเปิดใช้งาน Cookies และสามารถคลิก "นโยบายการใช้ Cookies" เพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม