ประวัติและความเป็นมาของสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดแพร่
จังหวัดแพร่ และมหาวิทยาลัยรามคำแหง ภายใต้การบริหารงานของ ศ.ประจำรังสรรค์ แสงสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้มองเห็นความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จึงได้ร่วมมือกันจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดแพร่ขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติเป็นปีที่ 50 โดยร่วมมือกันจัดตั้งสาขาวิทยบริการฯ ในลักษณะของการขยายห้องเรียนและบริการเพื่อการศึกษาออกไปสู่ส่วนภูมิภาค เปิดโอกาสให้ผู้ที่อยู่ในท้องถิ่นห่างไกลได้ศึกษาเล่าเรียนอย่างใกล้ชิดกับ อาจารย์ผู้สอนและได้รับบริการต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ
จังหวัด แพร่โดยนายทรงวุฒิ งามมีศรี ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้ส่งโครงการขอจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดแพร่ ให้มหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยเริ่มแรกจังหวัดแพร่จะเป็นผู้จัดหาสถานที่ตั้งถาวรและสร้างอาคารเรียน หลังแรกพร้อมอุปกรณ์ ส่วนมหาวิทยาลัยรามคำแหงรับผิดชอบเรื่องการจัดการเรียนการสอน โดยมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีเป้าหมายว่าจะสามารถรับนักศึกษาและผลิตบัณฑิตในสาขาต่างๆ ทั้งในระดับปริญญาตรี และในระดับบัณฑิตศึกษา
สถานที่ตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการฯ จังหวัดแพร่
จังหวัดแพร่ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนบน ห่างจากกรุงเทพมหานคร 555 กิโลเมตรทิศเหนือ | ติดต่อกับจังหวัดพะเยา และลำปาง | |
ทิศตะวันออก | ติดต่อกับจังหวัดน่าน | |
ทิศใต้ | ติดต่อกับจังหวัดอุตรดิตถ์ และสุโขทัย | |
ทิศตะวันตก | ติดต่อกับจังหวัดลำปาง และสุโขทัย |
การจัดตั้งสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดแพร่ ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายในท้องถิ่นทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งประกอบด้วยสภาจังหวัด สภาตำบลและกรรมการร่วมภาครัฐและภาคเอกชน โดยสภาตำบลป่าแมตได้อนุมัติให้ใช้ที่สาธารณะเด่นยวง ตำบลป่าแมต อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เนื้อที่ 103 ไร่ 47 ตารางวา ห่างจากตัวจังหวัดแพร่ 6 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดแพร่ โดยมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารเรียนหลังแรกของ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดแพร่ ในวันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม 2540
ด้านงบ ประมาณการก่อสร้างนั้น องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ได้บริจาคงบประมาณค่าก่อสร้างอาคารที่ทำการ อาคารเรียนถาวรหลังแรก จำนวน 6 ล้านบาทเป็นเบื้องต้น ประชาชนในจังหวัดแพร่ ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ หอการค้าจังหวัดแพร่ ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยรามคำแหงจังหวัดแพร่ พ่อค้า คหบดีและประชาชนในจังหวัดแพร่ ได้ร่วมมือกันสมทบทุนบริจาคสร้างอาคารเรียน จนกระทั่งอาคารแล้วเสร็จ โดยใช้งบประมาณในการสร้างทั้งหมดประมาณ 9.5 ล้านบาท และมีการตัดถนนสายตรงจากศาลากลางจังหวัดแพร่ไปยังที่ตั้งถาวรโดยได้รับ บริจาคที่ดินจากประชาชนในท้องถิ่นเป็นระยะทาง 6 กิโลเมตร ซึ่งโยธาธิการจังหวัดแพร่รับผิดชอบในการจัดหางบประมาณในการก่อสร้างถนนลาด ยาง สายมหาโพธิ์ ถึง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ฯ
ใน การดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยแต่งตั้งให้ รศ.วิศิษฐ์ ทวีเศรษฐ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์เป็นผู้ประสานงานระหว่างจังหวัดแพร่กับมหาวิทยาลัยราม คำแหง ต่อมาในปี 2541 อธิการบดีได้มีการแต่งตั้งรองอธิการบดีฝ่ายวิทยบริการฯ จังหวัดแพร่ดังนี้
พ.ศ. 2541 - 2544 | รองศาสตราจารย์กัลยาณี ธาระสืบ | |
พ.ศ. 2545 - 2546 | รองศาสตราจารย์อนงค์ทิพย์ เอกแสงศรี (รักษาการแทน) | |
พ.ศ. 2546 - 2549 | รองศาสตราจารย์ศศิธร แม้นสงวน | |
พ.ศ. 2550 (ม.ค. - ก.ค.) | รองศาสตราจารย์สุพรรณี มังคะลี | |
พ.ศ. 2550 - 2556 | รองศาสตราจารย์วิชัย ธนรังสีกุล | |
พ.ศ. 2556 - 2557 | รองศาสตราจารย์ ดร. ธงชัย สมบูรย์ | |
พ.ศ. 2559 (มี.ค. - เม.ย.) | รองศาสตราจารย์ทวีศักดิ์ ปิ่นทอง ( รักษาราชการแทน ) | |
พ.ศ. 2559 - 2560 | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรานนท์ คงสง | |
พ.ศ. 2560-2562 | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พรชัย จิตต์พานิช | |
พ.ศ. 2563- 2564(ก.ย.) | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศุภสิทธิ์ จารุพัฒน์หิรัญ | |
พ.ศ.2564 - 2564 (ต.ค.-พ.ย.) | อาจารย์ ดร. สุรเชษฐ์ โซวเกียรติรุ่ง | |
พ.ศ. 2564 -2565 | อาจารย์ทอแสง หงษ์คำ | |
พ.ศ.2565 - 2566 | รองศาสตราจารย์ ดร.ณรัฐ วัฒนพานิช | |
พ.ศ.2566 - ปัจจุบัน | รองศาสตราจารย์ จักรี ไชยพินิจ |
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดแพร่ ตั้งอยู่ที่ ตำบลป่าแมต อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เป็นที่สาธารณะอยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทย มีเนื้อที่ประมาณ 103 ไร่ 47 ตารางวา สภาพพื้นที่เป็นที่ราบ มีอาคารเรียน 2 หลัง โดยใช้แบบแปลนเดียวกัน มีลักษณะเป็นอาคารสูง 2 ชั้น ขนาด 30 x 30 เมตร โดยมีพื้นที่ใช้สอยประมาณหลังละ 1,488 ตารางเมตร และมี อาคารโรงอาหาร 1 หลัง ขนาด 504 ตารางเมตร