โครงการแบบบูรณาการร่วมกันใน จ.แพร่

วันที 2 ก.พ.2566 เวลา 13.45 น. หัวหน้าสำนักงาน สาขาวิทยบริการฯจ.แพร่ ผู้แทนผู้บริหารมหาวิทยาลัยร่วมกับหัวหน้างานสารสนเทศผู้รับผิดชอบหลักของสาขาฯในการทำงานด้านดิจิทัลร่วมกับทางจังหวัดที่ห้องประชุมจดหมายเหตุ ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดแพร่ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยมีนายชุติเดช มีจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นประธานการประชุมเพื่อหารือแนวทางการขับเคลื่อนโครงการแบบบูรณาการร่วมกันในพื้นที่จังหวัดแพร่ รวมถึงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลจังหวัดแพร่ (พ.ศ. 2566 - 2570) โดยมีภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
การประชุมฯดังกล่าว จังหวัดแพร่ และ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สาขาภาคเหนือ ดำเนินการจัดขึ้นเพื่อหารือแนวทางการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลสำหรับจังหวัดแพร่ ในการขับเคลื่อนจังหวัดแพร่สู่เมืองอัจฉริยะอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านโครงการส่งเสริมและสนับสนุนตามมาตรการและโครงการความร่วมมือต่างๆ ประกอบด้วย โครงการศูนย์บริหารจัดการน้ำ โดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ หลักสูตรเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล โดย วิทยาลัยชุมชนแพร่ หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ และ หลักสูตรเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัลโดย วิทยาลัยอาชีวศึกษาแพร่ Traffy Fondue โดย ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดแพร่ โครงการติดตั้งไฟสัญญาณจราจรแบบ SMART VA โดย แขวงทางหลวงแพร่ สำนักงานทางหลวงที่ 2 (แพร่) โครงการ Smart Safety Zone 4.0 โดย สถานีตำรวจภูธรเมืองแพร่ โครงการ Smart Internet Grid โดย บริษัท โทรคมนาคม จำกัด การจัดการทางการแพทย์ Smart healthy โดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ป้ายบริการสาธารณะอัจฉริยะ โดย วิทยาลัยเทคนิคแพร่ โครงการด้านพลัง โดย สำนักงานพลังงานจังหวัดแพร่ และโครงการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อขยายผลสู่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นทุกแห่งในจังหวัดแพร่ นอกจากนี้ที่ประชุมฯได้ร่วมกันพิจารณา แต่งตั้งคณะกรรมการการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะจังหวัดแพร่ อีกด้วย
ในการประชุมเพื่อหารือแนวทางในการขับเคลื่อนการบูรณาการนั้น ได้มุ่งประเด็นไปที่ให้ส่วนราชการการรับทราบร่างแผนส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลของจังหวัดแพร่ ซึ่งได้ยกร่างแผนโดยสำนักส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลภาคเหนือตอนบน จ.เชียงใหม่ ละเป็นการประชุมครั้งแรก จากการรับฟังในที่ประชุม เมืองอัจฉริยะมักถูกนำไปเชื่อมโยงประเด็นด้านเทคโนโลยี ICT แต่ จังหวัดแพร่พึ่งเริ่มก้าวแรกหลังจากที่ทั่วปรเทสได้เริ่มการดำเนินการไปแล้ว 30 กว่าจังหวัดยังไม่ได้ระบุว่าจะดำเนินการขับเคลื่อนด้านไหนเป็นหลัก และมีการร่างแต่ตั้งคณะกรรมการทั้ง 7 กลุ่ม ซึ่งราม-แพร่ จะอยู่ในหนึ่งใน 7 กลุ่มของคณะกรรมการที่มาจากภาคการศึกษาในการร่วมขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจแต่จะใช้สิ่งแวดล้อมเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนในการดำเนินการด้านต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว การเกษตร ในส่วนของการศึกษาก็มีการจัดทำหลักสูตรที่สอดรับกับการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ แม่โจ้ โครงการต้นแบบ เทคโนโลยีการเกษตรแปลงใหญ่โดยใช้การควบคุมทางไกล อาชีวศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตรธุรกิจดิจิตอล และวิทยาลัยชุมชนแพร่ จัดทำโครงการที่ได้พัฒนานวัตกรรมต้นแบบการจัดการฟาร์มเกษตร ในที่ประชุมเสนอให้ชี้เป้าพื้นที่ในการดำเนินการให้ชัดเจนในเบื้องต้นคาดว่าจะเป็นเทศบาลเมืองแพร่ แต่ในมุมมองส่วนตัวนั้นในการทำระดับจังหวัดน่าจะมองพื้นที่ในการทำเป็นเมืองเกษตรอัจฉริยะ ดูจากอาชีพหลักของประชากรในจังหวัดและหลักสูตรในพื้นที่ที่รองรับที่มีโครงการวิจัยด้านนี้อยู่(ด้านการจัดการฟาร์มเกษตร) จะเป็นการง่ายในการขับเคลื่อนและส่งเสริมต่อไป นำเรียนเพื่อทราบในเบื้องต้นครับ 3/02/2566

 
นโยบายการใช้ Cookies

เราอาจจะเราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการและปรับปรุงบริการ โปรดคลิก "ยอมรับ" (ปุ่มสีเขียว) ในการเปิดใช้งาน Cookies และสามารถคลิก "นโยบายการใช้ Cookies" เพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม