----สำหรับประเพณีกิ๋นสลาก เป็นประเพณีทำบุญที่มีมาแต่ครั้งพุทธกาลเป็นความเชื่อที่มีเหตุเกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตแบบชนบทของชาวล้านนา เป็นการถวายข้าวใหม่ อาหาร ผลผลิตทางการเกษตร เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษและผู้ล่วงลับ ในจังหวัดแพร่แต่เดิมใช้คำว่า ประเวณีกิ๋นสลาก เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างช้านานในทุกวัด ต่อมาได้ใช้คำว่า “ประเพณีกิ๋นสลากหลวง” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 - ปัจจุบัน โดยการริเริ่มของพระมหาโพธิวงศาจารย์ (ตุ๊ปู่จี๋) พระมหาเถรานุเถระ ของจังหวัดแพร่ จัดให้มีประเพณีขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้คนเมืองแพร่ได้ร่วมทำบุญถวายสลากกับหัววัดต่างๆ มีการกระจายสลากออกไปยังวัดนอกเมืองด้วยวิธีการจับฉลาก และนิมนต์พระสงฆ์จากวัดทุกอำเภอมาร่วมงานประเพณีกิ๋นสลากที่วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร วัตถุประสงค์เพื่อให้นำปัจจัยไปบูรณะ ปฏิสังขร วัดวาอาราม เป็นทุนการศึกษาธรรมะของพระภิกษุสามเณร การกิ๋นสลากหลวงเมืองแพร่ จึงจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีจวบจนถึงปัจจุบัน
---- เริ่มต้นที่เวลา 06.00 น. จัดพิธีบูชาท้าวทั้งสี่ ณ วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร จากนั้นเวลา 08.00 น. คณะศรัทธาจากอำเภอ ตำบล หมู่บ้านและหน่วยงาน องค์กร ต่าง ๆ นำกัณฑ์สลากทุกประเภทมาจัดตั้ง บริเวณหน้าเทศบาลเมืองแพร่ จนถึงในวัดพระบมิ่งเมือง
----เวลา 09.30 น. เคลื่อนขบวนแห่ ซึ่งนำโดยขบวนเทวดา-นางฟ้า จากมหาวิทยาลัยแมโจ้-เพร่ เฉลิมพระเกียรติ ขบวนหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำกลุ่มองค์กรจากตลาดแพร่ปรีดา ตามด้วยขบวน จากอำเภอทั้ง ๘ อำเภอ ขบวนคณะศรัทธา รถพยาบาล และรถตำรวจปิดท้ายขบวน เดินไปตามเส้นทางถนนเจริญเมือง ถึงวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร
----เมื่อประธานเดินทางมาถึงศาลาพุทธสถาน วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร ประธานจุดธูป เทียน บูชาพระรัตนตรัย พระสงฆ์เถรานุเถระ ประจำอาสนะ - การแสดงพระธรรมเทศนาเรื่อง “อานิสงส์ของการตานสลาก” โดยพระราชเขมากร เจ้าคณะจังหวัดแพร่ จากนั้นประกอบพิธีเวนตานเส้นสลาก โดยประธาน นำกล่าวตานกัณฑ์สลาก
พระสงฆ์ ๔ รูปประกอบพิธีอุปโลกน์เส้นสลาก พระสงฆ์เถระนุเถระ อนุโมทนาให้พร
----เวลา 13.30 น. ถวายเส้นสลากแต่พระสงฆ์ และสามเณร (เส้นสลากออก) เป็นอันเสร็จสิ้นการจัดงานฯ